<< Go Back

                   1. เพื่อให้นักเรียนสามารถทดลองและอธิบายการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสารเมื่อเกิดการละลาย
                   2. เพื่อให้นักเรียนสามารถบอกปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการละลายของสาร
                   3. เพื่อให้นักเรียนสามารถยกตัวอย่างการใช้ประโยชน์จากความรู้เรื่องการละลายของสารในชีวิตประจำวัน

1. แอมโมเนียมไนเตรต     1  ช้อนเบอร์ 2

2. โซเตียมไฮดรอกไซต์    1  ช้อนเบอร์ 2
3. โซเดียมไนเตรต    1  ช้อนเบอร์ 2 4. โซเดียมคลอไรด์     1  ช้อนเบอร์ 2
5. แอมโมเนียมคลอไรด์       1  ช้อนเบอร์ 2 6. แคลเซียมคลอไรด์     1  ช้อนเบอร์ 2

7. จุนสีสะตุ      1  ช้อนเบอร์ 2

 

 

 

8. น้ำ      70 cm3

9. หลอดทดลองขนาดกลาง     7 หลอด

10. เทอร์มอมิเตอร์     1  อัน

11. ช้อนตักสาร เบอร์ 1     1 อัน

12. กระบอกตวงขนาด 10 cm3     1 ใบ

                  1.ใช้กระบอกตวงตวงน้ำ 10 cm3 เติมน้ำที่ตวงได้ลงไปในหลอดทดลองหลอดที่ 1
                  2.วัดอุณหภูมิของน้ำและบันทึกผล
                  3.ตักแอมโมเนียมไนเตรต 1 ช้อนเบอร์ 1แล้วเติมลงไปในหลอดทดลอง
                  4.ละลายแอมโมเนียมไนเตรตในน้ำแล้วัดอุณหภูมิ บันทึกผล
                  5.ทำซ้ำโดยเปลี่ยนสารที่ละลายให้ครบทุกสารที่เตรียมไว้

                 ผลการทดลองที่ได้   คือ

หลอดที่

สาร

อุณหภูมิของน้ำ (°C)

อุณหภูมิของสารละลาย (°C)

1

แอมโมเนียมไนเตรต

28

19

2

โซเตียมไฮดรอกไซต์

28

53

3

โซเดียมไนเตรต

28

22

4

โซเดียมคลอไรด์

28

26

5

แอมโมเนียมคลอไรด์

28

20

6

แคลเซียมคลอไรด์

28

49

7

จุนสีสะตุ

28

48

                 สรุปได้ว่า  อุณหภูมิของสารละลายเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เพราะเติมสารบางชนิดลงในน้ำ  กล่าวคือ เมื่อเติมแอมโมเนียมไนเตรต โซเดียมไนเตรต โซเดียมคลอไรด์ และแอมโมเนียมคลอไรด์ อุณหภูมิของสารละลายจะลดลง ส่วนการเติมโซเดียมไฮดรอกไซด์ แคลเซียมคลอไรด์ และจุนสีสะตุ อุณหภูมิของสารละลายจะเพิ่มขึ้น และถ้าเปลี่ยนแปลงปริมาณตัวละลาย จะทำให้อุณหภูมิของสารละลายเปลี่ยนแปลงไปด้วย กล่าวคือ ถ้าเพิ่มปริมาณตัวละลาย อุณหภูมิของสารละลายก็จะเปลี่ยนแปลงมากขึ้นด้วย


<< Go Back