<< Go Back

                   1.เพื่อให้นักเรียนสามารถอธิบายการแยกสารโดยวิธีการสกัดด้วยตัวทำละลาย
                   2.เพื่อให้นักเรียนสามารถเลือกใช้ตัวทำละลายที่เหมาะสมในการสกัดสารจากส่วนต่างๆของพืช
                   3.เพื่อให้นักเรียนสามารถเสนอแนะการใช้ประโยชน์จากสารที่สกัดได้จากส่วนต่างๆของพืช

1. ขมิ้นหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ      100   g

2. เส้นใยฝ้าย       50    g

3. เอทานอล     50    g

4. น้ำกลั่น     100   cm3

5. ขวดรูปกรวยขนาด 100 cm3 พร้อมจุกปิดปากขวด  2  ชุด

6. บิ๊กเกอร์ขนาด 250 cm3     2      ใบ


7. กรวยพลาสติก      1      ชุด

8. ถ้วยระเหย      2      ใบ

9. ตะเกียงแอลกอฮอล์พร้อมที่กั้นลมและตะแกรง   1  ชุด

10. กระดาษกรอง     1      แผ่น

11. กระบอกตวงขนาด 10 cm3      1      ใบ

12. เครื่องชั่ง     1      เครื่อง

                  1.หั่นขมิ้นเป็นชิ้นเล็กๆ ใส่ลงในขวดรูปกรวย 2 ใบ ใบละประมาณ 5 g เติมน้ำและเอทานอล 5 cm3 ลงในขวดใบที่ 1 และ 2 ตามลำดับ ปิดปาดขวดด้วยจุกให้แน่นแล้วเขย่าแรงๆประมาณ 5 นาที สังเกตและบันทึกผลที่ได้
                  2.แยกส่วนที่เป็นของเหลวออกจากสารผสมในขวดทั้งสองใบ แล้วนำไประเหยแห้ง สังเกตและบันทึกผล

ตัวทำละลาย

สารตัวอย่าง

เมื่อใช้น้ำ

เมื่อใช้เอาทานอล

ของเหลวที่ได้

เมื่อนำไประเหยแห้ง

ของเหลวที่ได้

เมื่อนำไประเหยแห้ง

ขมิ้น

มีสีเหลือง มีกลิ่นขมิ้นเล็กน้อย

มีสารสีเหลือง เป็นผงจำนวนมาก

มีสีเหลืองเข้มถึงส้ม มีกลิ่นขมิ้น

มีสารสีเหลือง และสีส้มจำนวนมาก และมีของเหลว เป็นน้ำมันข้นเหลว อยู่เล็กน้อย

          สรุปได้ว่า

                 สีเหลืองจากขมิ้นละลายในน้ำได้ดี และถ้าใช้แอลกอฮอล์เป็นตัวทำละลายจะสกัดน้ำมันหอมระเหยจากขมิ้นได้ดีกว่าน้ำ และการหั่นขมิ้นไปชิ้นเล็กๆทำให้สกัดสารได้ดี ได้สารสีเหลือง หรือกลิ่นหอมออกมามากขึ้น ซึ่งสารสกัดจากขมิ้น สามารถนำไปใช้ประโยชน์ เช่น ทำเครื่องสำอาง เป็นสีผสมอาหาร ผสมอาหาร ส่วนกลิ่นอาจนำไปผสมในน้ำมันหม่อง สมุนไพร

                 

ในชีวิตประจำวัน เราจะพบการสกัดสารด้วยตัวทำละลาย เช่น ยาสมุนไพรบางชนิดมีการผสมเอทิลแอลกอฮอล์ เนื่องจากสารในพืชสมุนไพรไม่ละลายน้ำแต่ละลายได้ดีในแอลกอฮอล์


<< Go Back