<< Go Back

                   1. เพื่อให้นักเรียนสามารถออกแบบวิธีการตรวจสอบสมบัติของยาลดกรดและลงมือปฏิบัติ
                   2. เพื่อให้นักเรียนสามารถอธิบายสมบัติของยาลดกรดในการปรับค่า  pH  ในกระเพาะอาหาร

1. ยาลดกรดชนิดต่าง ๆ  เช่น  อะลัมมิลค์   อัลมาเยล  แอนตาซิล เกลูซิลชนิดเม็ด โซตามินต์ชนิดเม็ด    
3 cm3

     

2. กรดไฮโดรคลอริก      3 cm3

 


3. น้ำกลั่น       20     cm3

4. โกร่งบดสาร  +  ที่บด      1 ชุด

5. แท่งแก้วคนสาร     1   อัน 

6. กระจกนาฬิกา     1   อัน

7. หลอดทดลองขนาดเล็ก     6 หลอด

8. กระบอกตวงขนาด  10 cm       31     ใบ

9. กระดาษยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์      1     กล่อง

10. ที่ตั้งหลอดทดลอง      1    อัน

                  1.ศึกษาส่วนผสมของยาลดกรดทั้งชนิดน้ำและชนิดเม็ดจากฉลาก  บันทึกผล
                  2.วางแผนและออกแบบวิธีการตรวจสอบสมบัติของยาลดกรดในการละลายน้ำ pH และความสามารถในการลดกรด บันทึกผลและนำเสนอผลการทำกิจกรรม

                 ผลการทดลองที่ได้ คือ

ยาลดกรด ตัวอย่าง

ส่วนประกอบ
ของยาลดกรด

pH ของสารละลาย

กรดไฮโดรคลอริก

ยาลดกรด

ยาลดกรด+ กรดไฮโดรคลอริก

อะลัมมิลค์ 

Al(OH)3+Mg(OH)2

1

7.5

 7

อัลมาเยล

Al(OH)3

1

8.0

 7

แอนตาซิล

Al(OH)3

1

8.0

 7

เกลูซิลชนิดเม็ด

NaHCO3

1

9.5

 7

โซตามินต์
ชนิดเม็ด

Al(OH)3

1

8.0

 7


          สรุปได้ว่า

                  -   ยาลดกรดทุกชนิดมีสมบัติเป็นเบสทำให้ลดความเป็นกรดได้ ยาลดกรดทีนำมาศึกษามีทั้งที่มีไฮดรอกไซด์ และไฮโดรเจนคาร์บอเนตหรือคาร์บอเนต  ยาลดกรดที่ดีจะต้องทำให้ pH ของสารละลายเป็นกลาง
                  -    ยาลดกรดแต่ละชนิดทำปฏิกิริยากับกรดแตกต่างกัน  บางชนิดมีฟองแก๊สเกิดขึ้นแต่บางชนิดไม่เกิดฟองแก๊ส
                  -    แก๊สที่เกิดขึ้นในการตรวจสอบสมบัติของยาลดกรดน่าจะเป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์  เพราะยาลดกรดบางชนิดมีสารประกอบพวกคาร์บอเนตและไฮโดรเจนคาร์บอเนต เมื่อทำปฏิกิริยากับกรดจะได้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และน้ำ ตรวจสอบได้โดยผ่านลงไปในน้ำปูนใสแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จะทำให้น้ำปูนใสขุ่น


<< Go Back