<< Go Back

           ในการทำพืช GMOs ต้องใช้เทคนิคในการถ่ายฝากยีนเข้าสู่พืช เพื่อให้พืชนั้นสามารถแสดงออกในลักษณะตามที่ต้องการได้ โดยเทคนิคเหล่านี้จะทำการส่งถ่ายสารพันธุกรรมจากภายนอก[ซึ่งอาจมาจากแหล่งอื่น เช่น ยีน(Gene)จากแบคทีเรีย]เข้าสู่ภายในเซลล์ของพืช ทำให้สารพันธุกรรมจากภายนอกสามารถแทรกตัวเข้าสู่จีโนม(Genome)หรือดีเอ็นเอ(DNA)ของพืชชนิดที่ต้องการได้ แล้วทำให้เกิดการแสดงออกในลักษณะที่ยีน(Gene)(ที่แทรกตัวเข้าไป)นั้นควบคุมอยู่ได้ รวมทั้งยังสามารถที่จะถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมนั้นต่อไปยังรุ่นลูกรุ่นหลานได้อีกด้วย พืช GMOs ซึ่งถูกโอนถ่ายยีนเข้าไปนี้อาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Transgenic Plants
          ในปัจจุบันการถ่ายฝากยีนจากภายนอกเข้าสู่พืช สามารถที่จะทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์หรือกลุ่มเซลล์หรือเนื้อเยื่อ ของพืชเป้าหมายที่นำมาถ่ายฝากยีน
วิธีการในการถ่ายฝากยีนเข้าสู่พืช สามารถแบ่งออกเป็น 2 วิธีการหลักๆ คือ
          – การถ่ายฝากยีนโดยตรง (Direct Gene Transfer) เช่น การถ่ายฝากยีนโดยใช้เครื่องยิงอนุภาค (Biolistic Technique), การถ่ายฝากยีนโดยใช้เข็มฉีด (Microinjection), การถ่ายฝากยีนโดยใช้กระแสไฟฟ้า (Eletroporation) เป็นต้น
          – การถ่ายฝากยีนโดยใช้พาหะ (Vector-Mediated Gene Transfer) เช่น การถ่ายฝากยีนโดยใช้แบคทีเรีย Agrobacterium (Agrobacterium-Mediated Gene Transfer) เป็นต้น ในปัจจุบัน วิธีการที่นิยมและประสบความสำเร็จในการถ่ายฝากยีนเข้าสู่พืชได้หลายชนิด ได้แก่
          – การถ่ายฝากยีนโดยใช้แบคทีเรีย Agrobacterium
          – การถ่ายฝากยีนโดยใช้เครื่องยิงอนุภาค (Biolistic Technique)

 

http://www.thaibiotech.info/transfer-gene-to-plants-techniques.php

<< Go Back