<< Go Back

ความหมายและการจำแนกประเภทของสารเสพติด
           จากความหมายของพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 หรือความหมายตามที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ สามารถสื่อความหมายของสารเสพติดได้ตรงกันว่าหมายถึง สารหรือยา หรือวัตถุชนิดใดๆ ที่เมื่อเสพเข้าร่างกายจะโดยวิธีใดๆก็แล้วแต่ จะเป็นผลต่อร่างกายและจิตใจของผู้เสพในลักษณะสำคัญ 4 ประการ คือ
           1. ผู้เสพจะเกิดความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรง
           2. ต้องเพิ่มขนาดหรือปริมาณของสารเสพติดนั้นขึ้นเรื่อยๆ
           3. ต้องตกอยู่ใต้อำนาจบังคับอันเกิดจากฤทธิ์ของสารเสพติดนั้นๆ ทำให้หยุดไม่ได้และเกิดอาการขาดยา เมื่อไม่ได้เสพ
           4. ผู้เสพจะมีสุขภาพร่างกายที่ทรุดโทรมลง
จำแนกประเภทได้หลายวิธีที่สำคัญ คือ จำแนกตามการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง ได้ 4 ประเภท คือ
           1. กดประสาท ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน โคเคอีน เฮโรอีน โซเดียมเซโคบาร์ บิทาล(เหล้าแห้ง) ไดอะซีแฟม แล็กเกอร์ คลอไดอะซีป๊อกไซด์ ทินเนอร์ กาว ฯลฯ
           2. กระตุ้นประสาท ได้แก่ แอมเฟตามีน (ยาบ้า ยาม้า ยาขยัน) อีเฟดีน (ยาอี) โคเคอีน กระท่อม ฯลฯ
           3. หลอนประสาท ได้แก่ DMT LSD เห็ดขี้ควาย และสารระเหยต่างๆ
           4. ออกฤทธิ์ผสมผสาน ซึ่งครั้งแรกกระตุ้นประสาท แต่เมื่อเสพมากขึ้นก็จะกดประสาท และทำให้ประสาทหลอนได้ ได้แก่ กัญชา กระท่อม
ชนิดของสารเสพติดให้โทษที่แพร่ระบาดในปัจจุบัน
           1. แอมเฟตามีน หรือยาบ้า
           2. อีเฟดีน หรือยาอี
           3. ฝิ่น
           4.มอร์ฟีน
           5.เฮโรอีน (Heroin)
           6. โคเคน(Cocaine)
           7. กัญชา
           8. สารระเหย
โทษและพิษภัยของสารเสพติด
           1. ต่อผู้เสพ ทำให้สุขภาพทรุดโทรมทั้งร่างกายและจิตใจ เกิดโรคต่างๆ
           2. ต่อครอบครัว ก่อให้เกิดความเดือดร้อน สูญเสียรายได้ เกิดความไม่สงบสุขภายในครอบครัว
           3. ต่อสังคม ก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรม
           4. ต่อประเทศชาติ ทำให้สูญเสียเศรษฐกิจจำนวนมหาศาล และบ่อนทำลายความมั่นคงของชาติ
การป้องกันสารเสพติด
           ปัญหาสารเสพติดเป็นปัญหาและหน้าที่ของทุกๆคนทุกๆหน่วยงานต้องร่วมรับผิดชอบและร่วมมือกัน  ดำเนินการ ในด้านการป้องกันสารเสพติด ควรเริ่มต้นจากเด็กและเยาวชนให้รู้จักการป้องกันตนเองจากสารเสพติดได้ เพราะเด็กและเยาวชนเป็นทรัพยากรบุคคลอัน มีค่าที่จะเป็นพลังสำคัญต่อสังคม  และประเทศชาติต่อไปในอนาคต มาตรการเพื่อป้องกันสารเสพติด
การบำบัดรักษาและการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดสารเสพติด
           การบำบัดรักษาผู้ติดสารเสพติด หมายถึง การดำเนินงานเพื่อแก้ไขสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ติดสารเสพติดให้เลิกจากการเสพ และสามารถกลับไปดำรงชิวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติ สามารถแบ่งระบบการรักษาออกเป็น 3 ระบบ คือ
           1. ระบบสมัครใจ หมายถึง การที่ผู้ติดสารเสพติดสมัครใจ มีความพร้อมที่จะเข้ารับการบำบัดรักษาในสถานพยาบาลต่างๆ ทั้งของรัฐและเอกชน
           2. ระบบต้องโทษ หมายถึง การที่ผู้ติดสารเสพติดกระทำความผิดและถูกคุมขัง จะต้องเข้ารับการบำบัดรักษา ในสถานพยาบาลที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย
           3. ระบบบังคับ หมายถึง การใช้กฎหมายบังคับตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2534 โดยการตรวจพิสูจน์หาสารเสพติดหากตรวจพบว่ามีสารเสพติดในร่างกาย ผู้เสพติดจะต้องเข้ารับการบำบัดรักษาในสถานพยาบาลที่จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ. ดังกล่าวเป็นระยะเวลา 6 เดือน หรืออาจจะขยายหรือลดระยะเวลา การบำบัดรักษาได้ แต่รวมแล้วไม่เกิน 3 ปี เพื่อให้การบำบัดรักษาผู้ติดสารเสพติดได้อย่างเด็ดขาด


      https://sites.google.com/site/sukhsuksam4/home/bth-thi11-sar-seph-tid-hi-tho

<< Go Back