<< Go Back

พฤติกรรมสัตว์
           สิ่งมีชีวิตทุกชนิดจะมีแบบแผนของการตอบสนองการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ในสภาพแวดล้อมต่างๆกัน การตอบสนองอาจเกิดขึ้นทันทีทันใด หรืออาจเป็นไปอย่างช้าๆ แต่มีผลทำให้สิ่งมีชีวิตมีการแสดงออก หรือมีพฤติกรรมในลักษณะต่างๆ ซึ่งมีผลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตด้วย
            1. ความหมายของพฤติกรรม พฤติกรรม (Behavior) หมายถึง กิริยาของสิ่งมีชีวิตที่แสดงออกมา เพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้นทั้งสิ่งเร้าภายในและสิ่งเร้าภายนอก สิ่งเร้า (Stimulus) คือ สัญญาณหรือการเปลี่ยนแปลงซึ่งมีผลต่อกิจกรรมของสิ่งมีชีวิต โดยทั่วๆไปจะแบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ
                        1. สิ่งเร้าภายในร่างกาย ได้แก่ ฮอร์โมน เอนไซม์ ความหิว ความเครียด ความต้องการทางเพศ เป็นต้น
                        2. สิ่งเร้าภายนอกร่างกาย ได้แก่ แสง เสียง อุณหภูมิ อาหาร น้ำ การสัมผัส สารเคมี เป็นต้น
            2. กลไกการเกิดพฤติกรรม การที่สัตว์จะแสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งออกมาได้นั้น จะต้องมีองค์ประกอบสำคัญดังนี้
                        1. เหตุจูงไจ (Motivation)
                        2. ตัวกระตุ้นปลดปล่อย (Releasing Stimulus) เช่น พฤติกรรมการกินอาหารของสัตว์ ความหิว เป็นเหตุจูงใจ อาหาร เป็นตัวกระตุ้นปลดปล่อย โดยทั่วไปถ้าเหตุจูงใจสูง สัตว์จะสามารถแสดงพฤติกรรมออกมาได้ ถึงแม้ตัวกระตุ้นปลดปล่อยจะไม่รุนแรง ในทางตรงกันข้ามถ้าเหตุจูงใจต่ำ แต่ตัวกระตุ้นปลดปล่อยมีความรุนแรงมาก สัตว์จะสามารถแสดงพฤติกรรมออกมาได้เช่นกัน
            3. พฤติกรรมของคนและสัตว์ที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก สิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ไวต่อการรับความรู้สึก และโต้ตอบสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบๆตัว เช่น แสง อุณหภูมิ น้ำ และการสัมผัส ซึ่งเรียกว่า สิ่งเร้า ส่วนพฤติกรรม หรืออาการที่อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของสิ่งมีชีวิตแสดงออกหรือปรากฏให้เห็นเมื่อถูกสิ่งเร้ามากระตุ้น ณ ชั่วขณะหนึ่ง เรียกว่า การตอบสนอง คนและสัตว์สามารถแสดงพฤติกรรมบางอย่างเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก ซึ่งได้แก่ แสง อุณหภูมิ น้ำ และการสัมผัส ได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะของสิ่งเร้าและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อความปลอดภัยและการอยู่รอดของชีวิต โดยอาศัยการทำงานที่ประสานกันระหว่างระบบประสาท ระบบกล้ามเนื้อ รวมทั้งต่อมไร้ท่อและระบบต่อมมีท่อดังนี้
                        3.1 การตอบสนองเมื่อได้รับแสงเป็นสิ่งเร้า คนและสัตว์บางชนิดสามารถตอบสนองได้อย่างรวดเร็วเมื่อได้รับแสง เช่น
                                    - การหรี่ตาเมื่อได้รับแสงสว่างมากเกินไป
                                    - การที่แมลงต่างๆ บินเข้าหาแสงสว่าง
                                    - เมื่อเกิดสุริยุปราคา นกจะบินกลับรัง เนื่องจากมีสภาพคล้ายเวลาพลบค่ำ
                                    - การหนีแสงของไส้เดือนดิน
                                    - การให้แสงสว่างในการเลี้ยงไก่ เพื่อให้ไก่กินอาหารเป็นเวลานาน ทำให้เจริญเติบโตเร็วในระยะเวลาสั้นกว่าปกติ
                                    - สัตว์บางชนิดออกหาอาหารในเวลาที่เริ่มมีแสงสว่าง เช่น การที่นกบินออกจากรังในตอนเช้า
                                    - ไก่ขันบอกเวลาในตอนเช้า แต่ก็มีสัตว์บางชนิดจะออกหาอาหารในเวลาที่ไม่มีแสงสว่าง เช่น นกเค้าแมว ค้างคาว หนู
                        3.2 การตอบสนองเมื่อได้รับอุณหภูมิเป็นสิ่งเร้า คนและสัตว์จะดำรงชีวิตในสภาวะที่มีอุณหภูมิที่เหมาะสม ถ้าอุณหภูมิเปลี่ยนไป สิ่งมีชีวิตจะมีพฤติกรรมที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิเพื่อความปลอดภัย และการดำรงชีวิตได้อย่างเหมาะสม

เมื่ออากาศร้อน หรือมีอุณหภูมิสูง เมื่ออากาศเย็นหรืออุณหภูมิต่ำ
- คนจะเหงื่อออกมาก เป็นการระบายความร้อน
- คนเมื่อสัมผัสวัตถุที่ร้อนจัด จะเกิดอาการสะดุ้ง และดึงอวัยวะส่วนที่สัมผัสออกทันที
- สุนัข วัว ควาย แกะ จะระบายความร้อน โดยน้ำระเหยออกจากลิ้น และเพดานปากด้วยการหอบ
- แมว กระต่าย จิงโจ้ จะระบายความร้อนโดยการเลียอุ้งเท้า และน้ำลายจะพาความร้อนออกไป
- ควายจะหนีร้อนด้วยการแช่ในแอ่งน้ำ
- สัตว์เลื้อยคลาน เช่น จิ้งเหลน กิ้งก่า งู จะหลบร้อนอยู่ตามโพรงไม้ หรือ ในที่ร่ม
- คนจะขนลุก หนาวสั่น เป็นการป้องกัน
การสูญเสียความร้อน   และเพิ่มความร้อนให้แก่ร่างกาย
- คนเมื่อสัมผัสวัตถุที่เย็นจัด   จะเกิดอาการสะดุ้ง
และดึงอวัยวะส่วนที่สัมผัสออกทันที
- นกนางแอ่นบ้าน และ นกปากห่าง 
จะอพยพย้ายถิ่นจากไซบีเรียมายังประเทศไทย
- กระรอกดินจะหนีอากาศหนาวด้วยการจำศีล
(Hibernation)
- สัตว์เลื้อยคลาน เช่น จิ้งเหลน กิ้งก่า งู
จะนอนผึ่งแดด

                        3.3 การตอบสนองเมื่อได้รับน้ำเป็นสิ่งเร้า น้ำเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรังชีวิตของคนและสัตว์ ช่วยลำเลียงสารอาหารไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย ช่วยรักษาอุณหภูมิของร่างกาย ช่วยในการขับถ่าย ช่วยรักษาผิวหนังให้ชุ่มชื้น ดังนั้นเมื่อสภาพแวดล้อมมีปริมาณน้ำไม่เหมาะสม คนและสัตว์บางชนิดจะปรับตัวให้เหมาะสม ดังตัวอย่างต่อไปนี้
                                    - ไส้เดือนจะเคลื่อนที่เข้าหาความชื้น เพื่อให้ผิวหนังชุ่มชื้น เนื่องจากไส้เดือนหายใจโดยใช้ผิวหนังจึงจำเป็นที่ผิวหนังจะต้องชุ่มชื้นตลอดเวลา
                                    - น้ำทำให้สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เช่น กบ คางคก ออกหากินในเวลากลางคืน เพื่อให้มีความชื้นพอเหมาะ
                                    - สัตว์ทะเลทรายจะออกหากินในเวลากลางคืนเพื่อลดการสูญเสียน้ำ สำหรับคนการตอบสนองกับสิ่งเร้าที่เป็นน้ำจะสังเกตไม่ได้ชัดเจน เพราะคนเราสามารถปรับตัวได้ดีในสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวกับน้ำ
                        3.4 การตอบสนองสิ่งเร้าเมื่อได้รับการสัมผัสเป็นสิ่งเร้า ผิวหนังของคนและสัตว์จะมีประสาทสัมผัสอยู่ที่บริเวณผิวหนัง ดังนั้นเมื่อได้รับการสัมผัส ระบบประสาทกับระบบกล้ามเนื้อจะทำงานประสานกัน และแสดงอาการตอบสนองสิ่งเร้าได้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
                                                - อึ่งอ่างเมื่อได้รับการสัมผัสจะพองตัว
                                                - กิ้งกือจะขดตัวเมื่อถูกสัมผัส
                                                - เมื่อผงเข้าตา นัยน์ตาจะขับน้ำตาออกมาเพื่อกำจัดผง
                                                - การกะพริบตาเมื่อรู้สึกว่ามีวัตถุเข้าใกล้นัยน์ตา เพื่อป้องกันอันตรายให้แก่นัยน์ตา
            4. พฤติกรรมต่างๆ ในคนและสัตว์ พฤติกรรมของคนและสัตว์ที่แสดงออกมาในชีวิตประจำวัน ล้วนแต่เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ในการดำรงชีวิตให้อยู่รอด และสามารถดำรงเผ่าพันธ์ไว้ได้ แบบแผนการเกิดพฤติกรรมอาจเป็นแบบง่ายๆ หรือซับซ้อนก็ได้ พฤติกรรมของคนและสัตว์สามารถจำแนกออกเป็น 2 ประเภทคือ
                        1. พฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิด (Innate Behavior) เป็นพฤติกรรมแบบง่ายๆ ในการตอบสนองสิ่งเร้าโดยไม่ต้องผ่านการเรียนรู้หรือประสบการณ์มาก่อน มีแบบแผนที่แน่นอนในสัตว์แต่ละชนิด ดังนั้น สมาชิกของสัตว์ชนิดเดียวกันจะมีพฤติกรรมการแสดงออกที่เหมือนกัน พฤติกรรมประเภทนี้ยังสามารถแบ่งย่อยออกเป็นแบบต่างๆ ได้ 4 แบบ คือ                                     1.1 พฤติกรรมแบบไคนีซิส (Kinesis) เป็นพฤติกรรมที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าด้วยการเคลื่อนที่ทั้งตัวแบบมีทิศทางไม่แน่นอน คือ มีทิศทางที่ไม่สัมพันธ์กับทิศทางของสิ่งเร้า พฤติกรรมแบบนี้มักพบในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังชั้นต่ำ และพวกโพรติสต์ ซึ่งมีหน่วยรับความรู้สึกที่มีประสิทธิภาพไม่ดีพอ เช่น
                                                - การเคลื่อนที่ออกจากบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงของพารามีเซียม
                                                - การเคลื่อนที่หนีฟองแก๊ส CO2 ของพารามีเซียม
                                               - การเคลื่อนที่ของตัวกุ้งเต้นเมื่ออยู่ในความชื้นที่แตกต่างกัน
                        1.2 พฤติกรรมแบบแทกซิส (Taxis) เป็นพฤติกรรมการเคลื่อนที่เข้าหาหรือหนีออกจากสิ่งเร้าอย่างมีทิศทางที่แน่นอน พฤติกรรมแบบนี้มักพบในสิ่งมีชีวิตที่มีหน่วยรับความรู้สึกที่มีประสิทธิภาพดีพอที่จะสามารถรับรู้และเปรียบเทียบสิ่งเร้าได้
                                                - การเคลื่อนที่เข้าหาแสงสว่างของพลานาเรีย
                                                - การเคลื่อนที่ของหนอนแมลงวันหนีแสง
                                                - การเคลื่อนที่ของแมลงเม่าเข้าหาแสง
                                                - การเคลื่อนที่ของค้างคาวเข้าหาแหล่งอาหารตามเสียงสะท้อน
                                                - การบินเข้าหาผลไม้สุกของแมลงหวี่
                        1.3 พฤติกรรมแบบรีเฟลกซ์ (Reflex) เป็นพฤติกรรมที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้น อย่างรวดเร็วทันทีทันใด พฤติกรรมแบบนี้มีความสำคัญ เพราะช่วยให้สิ่งมีชีวิตรอดพ้นจากอันตรายได้ เช่น
                                                - การกะพริบตาเมื่อผงเข้าตา
                                                - การยกเท้าหนีทันทีเมื่อเหยียบหนาม ของแหลม หรือ ของร้อน
                                                - การไอ การจาม เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในทางเดินหายใจ
                        1.4 พฤติกรรมแบบรีเฟลกซ์ต่อเนื่อง (Chain of Reflexes) เป็นพฤติกรรมที่ประกอบด้วยพฤติกรรมย่อยๆ หลายพฤติกรรมที่เป็นปฏิกิริยารีเฟลกซ์ ซึ่งเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องกัน แต่เดิมใช้คำว่า สัญชาตญาณ (Instinct) แต่ในปัจจุบันคำนี้ใช้กันน้อยมากในทางพฤติกรรมเพราะมีความหมายกว้างเกินไป ซึ่งอาจหมายรวมถึงพฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิดทุกๆแบบด้วย สัตว์พวกแมลง สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์ปีก จะมีพฤติกรรมนี้เด่นชัด เช่น
                                                - การสร้างรังของนกและแมลง
                                                - การชักใยของแมงมุม
                                                - การกินอาหารของสัตว์แต่ละชนิด เช่น การแทะมะพร้าวของกระรอก
                                                - การเกี้ยวพาราสีของสัตว์ต่างๆ
                                                - การฟักไข่และเลี้ยงลูกอ่อนของสัตว์
                                                - การจำศีลและการอพยพย้ายถิ่นของสัตว์
            2. พฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ (Leaning Behavior) เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นได้โดยอาศัยประสบการณ์หรือการเรียนรู้ของสัตว์ พฤติกรรมแบบนี้ส่วนใหญ่พบในสัตว์ชั้นสูงที่มีระบบประสาทเจริญดี แต่ในสัตว์ชั้นต่ำบางชนิดก็สามารถแสดงพฤติกรรมประเภทนี้ได้ พฤติกรรมประเภทนี้สามารถแบ่งย่อยออกเป็นแบบต่างๆ ได้ดังนี้
                        1. พฤติกรรมเรียนรู้แบบแฮบบิชูเอชัน (Habituation) เป็นพฤติกรรมที่สัตว์หยุดตอบสนองต่อสิ่งเร้าเดิม แม้จะยังได้รับการกระตุ้นอยู่ เนื่องจากสัตว์เรียนรู้แล้วว่าสิ่งเร้านั้นไม่มีผลต่อการดำเนินชีวิตของตัวเองเช่น
                                                - การที่นกลดอัตราการบินหนีหุ่นไล่กา
                                                - การที่นกหยุดบินหนีเมื่อรถแล่นผ่านรังของมันที่อยู่บนต้นไม้ริมถนน
                                                - การเลิกแหงนมองตามเสียงเครื่องบินของสุนัขที่อาศัยอยู่แถวสนามบิน
                        2. พฤติกรรมการเรียนรู้แบบมีเงื่อนไข (Conditioning) เป็นพฤติกรรมการตอบสนองสิ่งเร้าทีไม่แท้จริง ได้เช่นเดียวกับสิ่งเร้าที่แท้จริง เช่น
                                                - การทดลองของ อีวาน พาฟลอฟ นักสรีรวิทยาชาวรัสเซีย เป็นการทดลองว่า สุนัขหลั่งน้ำลายเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่ง
                                                - การฝึกสัตว์เลี้ยงที่บ้านให้แสนรู้ ฝึกสัตว์ไว้ใช้งาน ฝึกสัตว์แสดงละครสัตว์ ล้วนมีพื้นฐานมาจากพฤติกรรม การเรียนรู้ แบบมีเงื่อนไขทั้งสิ้น
                        3. พฤติกรรมการเรียนรู้แบบฝังใจ (Imprinting) เป้นพฤติกรรมที่ตอบสนองสิ่งเร้าในช่วงแรกของชีวิตด้วยการจดจำสิ่งเร้าต่างๆ ได้ เช่น
                                                - การที่สัตว์ต่างๆ เดินตามแม่ เพราะสิ่งแรกที่เห็นเมื่อเกิดมาคือ แม่
                                    - ตัวอ่อนของแมลงหวี่ที่ฟักออกมาจากไข่จะผูกพันกับกลิ่นของพืชที่แม่แมลงหวี่วางไข่ไว้ และเมื่อโตเต็มวัยก็จะมาวางไข่บนพืชชนิดนั้น
                                    - ปลาแซลมอนจะฝังใจต่อกลิ่นที่ได้สัมผัสเมื่อออกจากไข่ และเมื่อเติบโตขึ้นถึงช่วงวางไข่ก็จะว่ายทวน น้ำกลับไปวางไข่ยังบริเวณแหล่งน้ำจืดที่เคยฟักออกจากไข่
            4. พฤติกรรมการเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก (Trial and Error) เป็นพฤติกรรมที่แสดงออกโดยการให้สัตว์มีการทดลองก่อน โดยไม่รู้ผลว่าจะดีหรือไม่ ผลของการตอบสนองจะทำให้สัตว์เกิดการเรียนรู้ที่เลือกตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เป็นผลดีหรือพอใจเท่านั้น เช่น
                        - การเดินในทางวกวนไปหาอาหารของหนู และหนูสามารถเดินทางไปหาอาหารและหาทางออกได้ในระยะเวลาอันสั้น หลังจากที่ได้ทดลองเดินมาก่อน
                        - การเลือกทางเดินของไส้เดือนที่อยู่ในกล่องรูปตัว T โดยมีด้านหนึ่งที่มืดและชื้น กับอีกด้านหนึ่งมีกระแสไฟอ่อนๆซึ่งไส้เดือนได้ผ่านการฝึกมาแล้ว จะสามารถเลือกทางที่ถูกต้องได้ถึงประมาณร้อยละ 90
                        - เด็กเอามือไปจับยากันยุงที่ร้อน เมื่อเกิดการเรียนรู้จะไม่ทำพฤติกรรมเช่นนี้อีก
            5. พฤติกรรมการเรียนรู้แบบใช้เหตุผล ( Reasoning ) เป็นพฤติกรรมที่แสดงออกโดยใช้สติปัญญาในการแก้ปัญหาต่างๆโดยไม่ต้องทดลองทำ ซึ่งเป็นการใช้ประสบการณ์หลายอย่างในอดีตมาช่วยในการแก้ปัญหาสถานการณ์ใหม่ในครั้งแรก เช่น
                        - การทดลองของโคเลอร์ ( W. Kohler ) เกี่ยวกับการแก้ปัญหาของลิงชิมแพนซี
                        - การใช้เหตุผลของคนในการแก้ปัญหาต่างๆ
            5. พฤติกรรมทางสังคม ( Social Behavior) ของสัตว์ สัตว์ที่อยู่รวมกันเป็นหมู่เป็นสังคมมีความจำเป็นจะต้องสื่อสารติดต่อกันเพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันได้ พฤติกรรมที่สัตว์ใช้สื่อสารมีหลายวิธี ดังนี้
                        1. การสื่อสารด้วยท่าทาง ( Visual Signal ) เป็นท่าทางที่สัตว์แสดงออกมาอาจจะเป็นแบบง่ายๆหรือาจมีหลายขั้นตอนที่สัมพันธ์กัน เช่น
                                    - การแยกเขี้ยวของแมว
                                    - การเปลี่ยนสีของปลากัดขณะต่อสู้กัน
                                    - สุนัขหางตกเมื่อต่อสู้แพ้และวิ่งหนี
                                    - นกยูงตัวผู้รำแพนหางขณะเกี้ยวพาราสีนกยูงตัวเมีย
                                                - การเต้นระบำของผึ้งเพื่อบอกแหล่งและปริมาณอาหาร ถ้าแหล่งอาหารอยู่ใกล้ จะเต้นเป็นรูปวงกลม แต่ถ้าแหล่งอาหารอยู่ไกล จะเต้นคล้ายรูปเลข 8 และมีการส่ายก้นไปมาด้วย โดยถ้าส่ายก้นเร็ว แสดงว่าปริมาณอาหารมีมาก
            2. การสื่อสารด้วยเสียง ( Sound Signal ) เสียงของสัตว์ที่เปล่งออกมาในแต่ละครั้งจะแสดงถึงการตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆและสื่อความหมายที่แตกต่างกัน เช่น
                                    - เสียงทำให้เกิดการรวมกลุ่ม เช่น เสียงร้องของนก ไก่ แกะ และกระรอก
                                    - เสียงเรียกคู่เพื่อผสมพันธ์ เช่น เสียงร้องของกบและคางคก เสียงขยับปีกของยุงตัวเมียเพื่อเรียกยุงตัวผู้
                                    - เสียงเตือนภัย เช่น เสียงร้องของเป็ด ไก่ นก และเสียงเห่าของสุนัข
                                    - เสียงแสดงความโกธร เช่น เสียงร้องของแมว สุนัข และช้าง
            3. การสื่อสารด้วยการสัมผัส (Physical Contract) เป็นการสื่อสารโดยการใช้อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งสัมผัสกับสัตว์พวกเดียวกันหรือต่างพวกกัน เพื่อกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมโต้ตอบกัน การสัมผัสเป็นการสื่อสารที่สำคัญอย่างหนึ่งของสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม un"U?ng" vàng freewebtown.com/gaigoitanbinh/index.html


    https://sites.google.com/site/hxngreiynxxnlinwithyasastr/phvtikrrm-khxng-satw

<< Go Back