<< Go Back

                       การตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมของพืชนั้น มักจะเกิดจากการเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลงแรงดันในเนื้อเยื่อพืช โดยการเคลื่อนไหวของพืชนั้นจะเกิดจากสิ่งเร้าทั้งภายนอกและภายใน ซึ่งแบ่งออกเป็น
                       1. การเคลื่อนไหวที่มีทิศทางสัมพันธ์กับทิศทางของสิ่งเร้า (tropic movement) เช่น แสง แรงโน้มถ่วงของโลก สารเคมี น้ำหรือความชื้น และอุณหภูมิ เป็นต้น โดยพบว่าปลายยอดของพืชจะเคลื่อนที่เข้าหาแสง ในขณะที่ปลายรากจะเคลื่อนที่หนีจากแสง ทั้งนี้เนื่องจากการทำหน้าที่ของฮอร์โมนออกซิน (auxin) และลำต้นของพืชจะมีทิศทางการเติบโตที่ต้านแรงโน้มถ่วงของโลก ในขณะที่รากจะเคลื่อนที่ไปในทางเดียวกันกับแรงโน้มถ่วงของโลก ก็เนื่องมาจากการทำหน้าที่ของฮอร์โมนออกซินเช่นเดียวกัน
                       2. การเคลื่อนไหวของพืชโดยมีทิศทางไม่สัมพันธ์กับทิศทางของสิ่งเร้า (nastic movement) เป็นการตอบสนองที่เกิดจากสิ่งเร้าเดียวกัน ปริมาณเท่ากัน แต่พืชตอบสนองได้ไม่เท่ากัน ซึ่งจะขึ้นอยู่กับบริเวณที่ได้รับสิ่งเร้าและชนิดของพืชด้วย เช่น การบาน-หุบ ของดอกไม้
                       3. การเคลื่อนไหวที่เกิดจากความเต่งของเนื้อเยื่อ (turgor movement) เช่น การหุบและกางใบของไมยราบ การหุบใบตอนพลบค่ำของต้นก้ามปู จามจุรี มะขาม และพืชตระกูลถั่ว รวมถึงการเปิด-ปิด ของปากใบด้วย

การเคลื่อนไหวของพืช

                       คุณสมบัติที่สำคัญอย่างหนึ่งของสิ่งมีชีวิตคือ จะต้องมีการเคลื่อนที่หรือเคลื่อนไหวเพื่อตอบสนอง ต่อสิ่งเร้า การเคลื่อนไหวใน พืชนั้นแตกต่างจาก สัตว์โดยสิ้นเชิง โดยเฉพาะในสัตว์ชั้นสูง ซึ่งมีระบบประสาท ระบบโครงร่าง และระบบกล้ามเนื้อ ที่ทำงานร่วมกัน แต่ในพืชปราศจากระบบต่าง ๆ เช่นใน สัตว์ อย่างไรก็ตามแม้พืชจะเคลื่อนที่ไม่ได้ พืชไม่มีขาเดินไปยังที่ต่าง ๆ เหมือนสัตว์ พืชไม่สามารถวิ่ง หนีเมื่อมีภัยมาใกล้ตัว แต่พืชก็สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ ตลอดเวลาเพื่อการอยู่รอดของพืชเอง โดยกลไกการรับรู้บางประการ และมีการตอบสนองในรูปแบบ ต่างๆ ที่เราเรียกว่าการเคลื่อนไหวของพืช
                       ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระตุ้นการตอบสนองของพืชนั้น เรียกว่า สิ่งเร้า นักวิทยาศาสตร์ได้แบ่งการตอบสนองของพืชต่อสิ่งเร้าที่มากระทำเป็นสองประเภท คือ การตอบสนองของพืชที่มีทิศทางสัมพันธ์กับสิ่งเร้า (tropic movement) และการตอบสนองของพืชที่มีทิศทางไม่สัมพันธ์กับสิ่งเร้า (nastic movement)

การตอบสนองของพืชที่มีทิศทางสัมพันธ์กับสิ่งเร้า (tropic movement)
                       Tropic movement หรือ tropism หรือการเบน เป็นการเคลื่อนไหวที่เกิดจากการเจริญเติบโต ของพืชที่มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอกอย่างมีทิศทางที่แน่นอน และมีความสัมพันธ์โดยตรงต่อทิศทางหรือต าแหน่งที่มา ของสิ่งเร้า การเบนนี้อาจเกิดขึ้นในลักษณะที่เบนเข้าหาสิ่งเร้า (positive tropism) หรือเบนออกจากสิ่งเร้า (negative tropism) ก็ได้ ตัวอย่างของ Tropic movement มีดังนี้
1. Phototropism หรือการตอบสนองต่อแสง
                        ถ้าสิ่งเร้าภายนอก ที่พืชตอบสนอง คือแสง จะเรียกการเบนนี้ว่า การเบนตามแสง ตัวอย่างของ การเบนตามแสงที่พบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน คือ การที่พืชมักจะเบนหรือเอียงเข้าหาแสงอยู่เสมอ ถ้าปลูกต้นไม้ในกระถาง แล้วนำไปวางไว้ในที่ที่ได้รับแสงด้านเดียว เช่น ริมหน้าต่าง หรือใต้ชายคาริม ระเบียงโดยไม่มีการหมุนกระถางเพื่อเปลี่ยนด้านของกระถางที่จะได้รับแสงบ้าง ลักษณะต้นไม้นั้นจะเอียงหรือหันออกไปหาแสงด้านเดียว ลักษณะเช่นนี้เป็นการเคลื่อนไหวที่เรียกว่า positive phototropism (รูปที่ 1) แต่เนื่องจากการตอบสนองต่อแสงของพืชเป็นไปในรูปแบบเดียวคือ การเบนเข้าหาแสง ดังนั้น จึงสามารถเรียกการตอบสนองโดยการเบนเข้าหาแสงว่า phototropism โดยไม่ต้องระบุว่าเป็น positive phototropism

การเบนตามแสงของยอดพืชหรือ phototropism

2. Gravitropism หรือการตอบสนองต่อแรงโน้มถ่วงของโลก

                        ถ้าสิ่งเร้าคือแรงโน้มถ่วงของโลกจะเรียกการตอบสนองดังกล่าวว่า การเบนตามแรงโน้มถ่วง รากพืชมีทิศทางการเจริญ เติบโตลงไปในดินเสมอ เป็นการเคลื่อนไหวแบบ positive gravitropism ส่วน ทิศทางการเจริญ เติบโตของยอดพืชที่เจริญยืดขึ้นไปในอากาศ ซึ่งจะตรงข้ามกับแรงโน้มถ่วงของโลกที่ พุ่งเข้าสู่ศูนย์กลางของโลก ยอดของพืชจึงมีการเคลื่อนไหวแบบ negative gravitropism (รูปที่ 2) การ ตะแคงกระถางต้นไม้ทำให้ยอดของต้นไม้ในกระถางมีการเจริญในทิศทางที่หนีแรงโน้มถ่วงของโลก และ ถ้าจะให้มั่นใจว่าการเคลื่อนไหวที่เห็นเป็นการตอบสนองต่อแรงโน้มถ่วงจริงๆ ไม่ใช่พืชเจริญ ตอบสนอง ต่อแสงหรือเคลื่อนไหวโดยการเบนตามแสงก็สามารถทำการทดลองในห้องมืด

การเบนยอดพืชหนีแรงโน้มถ่วงของโลกหรือ negative gravitropism

3. Thigmotropism หรือการตอบสนองต่อการสัมผัสสิ่งเร้า

                        การเจริญของมือเกาะตำลึงหรือพืชตระกูลแตง หรือการเลื้อยพันหลักของพลูด่าง หรือการเจริญ ของพืชพวกที่มีลำต้นแบบเลื้อยในลักษณะของการบิดลำต้นไปรอบๆ เป็นเกลียวเป็นการเคลื่อนไหวที่ตอบสนองต่อการสัมผัสสิ่งเร้า

การตอบสนองต่อการสัมผัสสิ่งเร้า (Thigmotropism)
ของมือเกาะของพืชตระกูลแตง ( A) และ การเลื้อยพันหลักของพลูด่าง (B)

 

                       https://vstudyapp.wordpress.com/2013/12/13/การเคลื่อนไหวของพืช/
                      http://www.phukhieo.ac.th/obec-media/2554/manual/คู่มือวิชาชีววิทยา/คู่มือบทที่ 54_การเคลื่อนไหวของพืช.pdf

<< Go Back