สาหร่ายหางกระรอก เป็นพรรณไม้น้ำพื้นเมืองของไทย มักพบในน้ำที่มีแสงสว่างส่องถึง น้ำค่อนข้างใส ความลึกน้ำ 0.6 - 1 เมตร ลักษณะพื้นเป็นดินโคลนหรือโคลนปนทราย มีลำต้นเป็นสายเรียวยาว ทอดไปตามความสูงของระดับน้ำ อาจยาวได้ถึง 3 เมตร ทั้งใบและต้นจมใต้น้ำ ลักษณะของใบเป็นแผ่นบางเรียวยาวขนาดเล็กติดบนลำต้นเป็นชั้นๆ ชั้นละ 2 - 8 ใบ ใบยาว 10 - 20 มิลลิเมตร กว้าง 2 - 5 มิลลิเมตร มีสีเขียวแก่ เส้นกลางใบสีแดง ขอบใบหยักเป็นซี่เล็กๆ มีดอกติดอยู่ที่ซอกใบระดับใต้น้ำ เมื่อดอกแก่จึงจะลอยขึ้นมาบานเหนือผิวน้ำ เจริญได้ดีในน้ำที่มี pH 6.0 - 7.3 อุณหภูมิน้ำ 25 - 30 องศาเซลเซียส แสงสว่างปานกลางถึงมาก
ใบ เดี่ยวแตกเป็นวงรอบข้อ 3 - 8 ใบ ไม่มีก้านใบแผ่นใบรูปไข่ยาวหรือรูปไข่ขอบขนาน ใบยาว 7 - 30 มิลลิเมตร ของใบหยักเป็นฟันเลื่อยละเอียด
ดอก เดี่ยวขนาดเล็กแยกเพศ ดอกเพศเมียมีกาบหุ้ม โคนก้านดอกลักษณะเรียวยาวส่งดอกขึ้นมาบานที่ผิวน้ำ ประกอบด้วยกลีบเลี้ยง 3 กลีบ กลีบดอก สีขาว 3 กลีบ ภายในรังไข่เพียง 1 ช่อง ยอดเกสรเพศเมียมี 3 ดอกเพศผู้มีกาบหุ้มเช่นกัน ดอกมีขนาดเล็ก ก้านดอกสั้นเมื่อดอกแก่จะหลุดลอยขึ้นไปบานที่ผิวกลีบเลี้ยง 3 กลีบ และกลีบดอก 3 กลีบ จะบานกางกระดกกลีบลงล่าง เกสรเพศผู้ 3 อัน ชูเหนือน้ำ อับเกสรเพศผู้ 4 ช่อง เมื่อแก่แตกออก ละอองเกสรจะปลิวฟุ้งกระจายไปตามลม เกิดการผสมเกสรระหว่างดอกเพศเมียที่ผิวน้ำ
มีหลายวิธี แต่ที่พบมากในเมืองไทย ได้แก่ การหลุดขาดของส่วนยอดของลำต้นและงอกเป็นต้นใหม่ วิธีที่ 2 คือคือการหลุดขาดของลำต้นซึ่งสามารถงอกเป็นต้นใหม่ได้ และวิธีที่ 3 คือ หัวใต้ดินของสาหร่ายหางกระรอก ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อสะสมอาหาร เมื่ออยู่ในสภาพแห้งแล้งหรือโดนสารเคมี และจะงอกเป็นต้นใหม่ได้เมื่อสภาพเหมาะสม เนื่องจากการแพร่กระจายของสาหร่ายหางกระรอก เป็นไปได้อย่างง่ายดาย และการควบคุมก็ลำบากเนื่องจากสาหร่ายหางกระรอกมีการลงหัว จึงพบว่าแพร่กระจายทั่วไปในคลองส่งน้ำและอ่างน้ำในเขตชลประทาน ในทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขตชลประทานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือี้
https://sites.google.com/site/wachiratham60601/home/tn-sahray-hang-krarxk
|