<< Go Back

1. เพื่อให้นักเรียนสามารถกำหนดปัญหาของการทดลองได้
2. เพื่อให้นักเรียนสามารถตั้งสมมุติฐานจากปัญหาที่กำหนดได้
3. เพื่อให้นักเรียนสามารถทดลองและสรุปผลการทดลองเกี่ยวกับคลอโรฟิลล์ต่อ การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช  ได้

  1. ใบชบาด่าง 1 ใบ

2. ไม้ขีดไฟ 1 กลัก

     3. น้ำแป้ง 5 ลูกบาศก์เซนติเมตร

     4. แอลกอฮอล์ 15 ลูกบาศก์เซนติเมตร

     5. น้ำ 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร

6. สารละลายไอโอดีน 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร

  7. บิกเกอร์ขนาด 250 ลบ.ซม. 1 ใบ

8. หลอดทดลองขนาดใหญ่ 1 หลอด

      9. หลอดทดลองขนาดเล็ก 1 หลอด

  10. หลอดหยด 1 อัน

11. ถ้วยกระเบื้อง 1 ใบ

12. ปากคีบ 1 อัน

  13. ตะเกียงแอลกอฮอล์พร้อมที่กั้นลมและตะแกรงลวด 1 ชุด

1.นำใบชบาด่างที่ถูกแสงแดดประมาณ 3 ชั่วโมง มาวาดรูป เพื่อแสดงส่วนที่เป็นสีขาวและสีเขียว
2.ใส่น้ำประมาณ 40 ลูกบาศก์เซนติเมตร ลงในบิกเกอร์ ต้มให้เดือด ใส่ใบชบาด่างลงในบิกเกอร์ที่มีน้ำเดือดต้มต่อไปนาน 1 นาที
3.ใช้ปากคีบคีบใบชบาด่างที่ต้มแล้วใส่ในหลอดทดลองขนาดใหญ่ที่มีแอลกอฮอล์ พอท่วมใบ แล้วนำไปต้มในน้ำเดือดประมาณ 1-2 นาที จนกระทั่งใบมีสีซีด สังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
4.นำใบชบาด่างในข้อ 3 ไปล้างด้วยน้ำเย็น สังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
5.นำใบชบาด่างที่ล้างแล้ววางในถ้วยกระเบื้อง แล้วหยดด้วยสารละลายไอโอดีนให้ทั่วทั้งใบ ทิ้งไว้ประมาณครึ่งนาที
6.นำใบชบาด่างไปล้างน้ำ สังเกตการเปลี่ยนแปลง แล้ววาดรูปเปรียบเทียบกับ รูปใบชบาด่างที่วาดไว้ก่อนการทดลอง พร้อมทั้งบันทึกผล
7.ใส่น้ำแป้งประมาณ 5 ลูกบาศก์เซนติเมตร ลงในหลอดทดลองขนาดเล็ก หยดสารละลายไอโอดีน 2-3 หยด ลงในหลอดทดลอง สังเกตการเปลี่ยนแปลงและบันทึกผล
หมายเหตุ
1.ใบชบาด่างที่ใช้ในการทดลองต้องเป็นใบที่เด็ดมาในวันทำการทดลอง
2.แอลกอฮอล์เป็นสารไวไฟ ดังนั้น ในการต้มใบชบาด่างในแอลกอฮอล์จึงต้องให้ความร้อนผ่านน้ำ
3.ในการใช้หลอดหยดดูดสารละลายไอโอดีน ควรระวังอย่าให้สารละลายไอโอดีนถูกผิวหนัง

ผลการทดลองที่ได้

สิ่งที่นำมาทดสอบ

ผลการทดสอบด้วยสารละลายไอโอดีน

ส่วนของใบพืชที่มีสีเขียว

เปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินเข้ม

ส่วนของใบพืชที่มีสีขาว

ไม่เปลี่ยนแปลง

น้ำแป้ง

เปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินเข้ม

สรุปได้ว่า การแช่ในแอลกอฮอล์เพื่อสกัดคลอโรฟิลล์ออกจากใบ ส่วนการให้ความร้อนทำให้คลอโรฟิลล์ละลายได้เร็วขึ้น การที่ต้องสกัดคลอโรฟิลล์ออก เพราะคลอโรฟิลล์จะบดบังสีที่เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างแป้งกับไอโอดีนทำให้สังเกตได้ยาก



<< Go Back