<< Go Back

เลนส์
          เลนส์คือวัตถุที่ทำจากแก้วชนิดดีมีลักษณะกลม ผิวเรียบ แบ่งได้ 2 ชนิด คือ เลนส์นูนและเลนส์เว้า ใช้ทำหน้าที่รับภาพและรับแสงจากภายนอกตัวกล้องไปยังวัสดุรับภาพ(CCD ในกล้องดิจิตอล) โดยเลนส์ของกล้องถ่ายภาพจะมีหลายชนิดหลายช่วงการใช้งาน ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมกับการที่จะนำไปใช้ในงานแต่ละประเภท ก่อนที่จะกล่าวถึงคุณสมบัติของเลนส์ ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับเลนส์ก่อนว่ามีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง โดยปกติทั่วไปเราคงเคยได้ยินชื่อของเลนส์ เช่น เลนส์ 28 มม. เลนส์ 70-300 มม. เป็นต้น โดยตัวเลขเหล่านี้คือขนาดของความยาวโฟกัส หรือความยาวระยะชัด (Focal Lenght) ช่วงความยาวนี้มักจะเขียนไว้ที่ขอบตัวเลนส์ เพื่อที่จะแสดงให้ผู้ที่จะใช้เลนส์ได้มีความสะดวกในการเลือกใช้งาน ความยาวโฟกัสของเลนส์นี้จะมีตัวเลขบอกความยาวไว้ มีหน่วยเป็นมิลลิเมตรหรือนิ้ว
              โดยความยาวโฟกัส(ระยะ f ในรูป) ก็คือระยะห่างระหว่างตัวเลนส์กับวัสดุรับภาพของกล้องนั่นเอง โดยถ้าเราพิจารณาจากภาพก็จะเห็นได้ว่า ยิ่งค่า f มากขึ้นเท่าไหร่(ยิ่งเลนส์ห่างจาก CCD เท่าไหร่) มุมของภาพก็จะนิ่งแคบลงเท่านั้น เลนส์ถ่ายภาพใดก็ตามที่มีความยาวโฟกัสของเลนส์ ยิ่งยาวยิ่งทำให้มุมของการถ่ายภาพแคบ และ ช่วยย่นระยะของทางที่มองเห็นให้ใกล้เข้ามา เลนส์ดังกล่าว ซึ่งได้แก่เลนส์ถ่ายไกล(Telephoto Lens) เป็นต้น นอกจากนี้เลนส์ที่มีความยาวโฟกัสแตกต่างกัน นอกจากสร้างผลทางภาพให้มีขนาดต่างกันแล้ว ยังสร้างผลของช่วงความชัดให้มีความแตกต่างกันอีกด้วย โดยความยาวโฟกัสยิ่งยาวมาก ช่วงความชัดยิ่งสั้นลง ตรงกันข้าม ถ้าความยาวโฟกัสยิ่งสั้นมาเท่าใด ช่วงความชัดของภาพจะมีมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นสรุปได้ว่าความยาวของโฟกัสของเลนส์มีผลต่อการถ่ายภาพ 2 อย่างคือ
             1. ทำให้มุมของภาพ กว้างหรือแคบได้
             2. ทำให้ช่วงความชัดมีมากหรือน้อยลงได้
ขนาดรูรับแสงของเลนส์ (Aperture)
ขนาดของช่องรูรับแสงของเลนส์ จะบอกได้ว่าเลนส์ตัวนั้นสามารถเปิดรูรับแสงได้กว้างเท่าไหร่ โดยจะมีผลต่อการถ่ายภาพ 2 ประการคือ
             1. ทำให้แสงสว่างผ่านเลนส์เข้าไปในกล้องได้มากขึ้น ทำให้ใช้ความเร็วชัตเตอร์ได้สูงขึ้น
             2. การตั้งช่องรับแสงเล็กจะได้ภาพที่มีช่วงความชัดมาก ในทางตรงกันข้ามถ้าตั้งช่องรับแสงขนาดใหญ่ ภาพที่ได้ช่วงความชัดจะน้อยลงไป เลนส์ของกล้องแบ่งออกเป็นระยะหรือลักษณะการใช้งานได้ดังนี้
             1. เลนส์มาตรฐาน (Standerd Lens) เป็นเลนส์ที่มีคุณสมบัติใช้ถ่ายภาพทั่วไป ลักษณะภาพที่ได้เหมือนกับที่ตาคนมองดูทั่วไป เป็นเลนส์ขนาดความยาวโฟกัสประมาณ 50 มม.
             2. เลนส์ถ่ายไกล (Telephoto Lens) เป็นเลนส์เหมือนกล้องส่องทางไกล เป็นเลนส์ที่มีความยาวของโฟกัสยาวกว่าเลนส์ธรรมดา ทำให้มุมการถ่ายภาพแคบลง คือทำหน้าที่ขยายภาพที่อยู่ไกลให้โตขึ้น เสมือนหนึ่งที่ไปตั้งอยู่ใกล้ ๆ กับวัตถุที่ถ่าย สะดวกในการถ่ายภาพสิ่งที่อยู่ไกล ซึ่งขณะนั้นผู้ถ่ายไม่สามารถเข้าไปตั้งกล้องในระยะใกล้ ๆ กับวัตถุนั้นได้ เช่น การถ่ายภาพสงคราม การแข่งกีฬา การถ่ายภาพสัตว์น้ำ เช่น เลนส์ที่ขนาดความยาวโฟกัสมากกว่า 135 มม. ขึ้นไป
             3. เลนส์มุมกว้าง( Wide ? angle lens) เป็นเลนส์ที่มีความยาวโฟกัส สั้นกว่าเลนส์ธรรมดา จึงทำให้มุมของการถ่ายภาพได้กว้างกว่าใช้เลนส์ธรรมดาถ่ายมาก มีระยะความชัดมาก โดยยิ่งเลนส์มุมกว้างมากเท่าไหร จะทำให้สิ่งที่อยู่ใกล้โตและไม่ได้สัดส่วน(สวยไปอีกแบบ) ใช้ถ่ายในสถานที่อันจำกัดไม่สามารถตั้งกล้องให้ห่างจากที่ถ่ายได้มาก เช่น การถ่ายภาพสิ่งก่อสร้างสูงๆ หรือยาวมาก ๆ ซึ่งต้องการถ่ายอยู่ในภาพทั้งหมด เบื้องหลังของผู้ถ่ายมีสิ่งกีดขวางไม่สามารถถอยไปได้อีก เช่น ติดกำแพง แม่น้ำ โดยเลนส์เหล่านี้จะมีขนาดความยาวโฟกัสประมาณตั้งแต่ 16 - 35 มม.
             4. เลนส์ตาปลา ( Fish eye lens) เป็นเลนส์ที่ให้ภาพที่มีลักษณะคล้ายภาพที่ปลามองเห็นเมื่อมองขึ้นมาจากในน้ำ เป็นเลนส์ที่กินมุมในการถ่ายภาพได้กว้างกว่าเลนส์ทุกชนิด คืออาจจะกว้างถึง 180 องศา เพื่อให้เกิดภาพนั้นผิดแผกแตกต่างไปจากภาพถ่ายธรรมดา และต้องการให้ภาพสะดุดตาแก่ผู้ชมภาพ มุมของการถ่ายภาพจะกว้างกว่าธรรมดามากประมาณ 3-4 เท่า แต่สิ่งที่ต้องระมัดระวังในการถ่ายภาพชนิดนี้ คือเท้าของผู้ถ่ายจะติดอยู่ในภาพ ถ้าผู้ถ้ายืนในรัศมีของภาพนั้น วัตถุถ่ายด้านข้างในภาพจะดูใหญ่โตน่าเกรงขาม เลนส์ชนิดนี้ จะให้ช่วงความชัดลึกมาก แม้ตั้งระยะถ่ายไกลสุดก็ตาม เช่น เลนส์ที่ขนาดความยาวโฟกัสตั้งแต่ 10 มม. ลงมา
             5. เลนส์ซูม ( Zoom lens ) เป็นเลนส์ที่มีหลายความยาวโฟกัสอยู่ในตัวเดียว นิยมใช้มากในปัจจุบัน สามารถเลือกใช้ระยะโฟกัสเท่าใดก็ได้ตามที่เลนส์นั้นบอกไว้ เช่น 70 -200 มม. , 85 - 300 มม. , 800 - 1200 มม. เป็นต้น
             6. เลนส์มาโคร ( Macro Lens) คล้ายกับเลนส์ทั่วไปแต่สามารถใช้ถ่ายภาพระยะใกล้มาก ๆ ได้ ทำให้เห็นรายละเอียดใกล้ๆ เช่น ถ่ายแมลงหรือวัสดุเล็กๆเป็นต้น โดยในกล้องคอมแพคจะสามารถเข้าใกล้วัตถุได้เกินครึ่งฟุต โดยในปัจจุบันเลนส์มาโครที่ผลิตสำหรับกล้อง SLR มักทำออกมาเป็นแบบของซูมเลนส์ได้ด้วย


           http://archive.wunjun.com/banlungphotoclub/10/392.html

<< Go Back