<< Go Back

คูณร่วมน้อย (ค.ร.น)
ค.ร.น. บางทีเรียกว่า คูณร่วมน้อย หมายถึง ตัวคูณร่วมที่มีค่าน้อยที่สุด ค.ร.น.. จะเกิดขึ้นเมื่อมีจำนวนนับตั้งแต่ 2 จำนวนขึ้นไป การหาร ค.ร.น.สามารถหาได้หลายวิธี ดังนี้
วิธีที่ 1 วิธีหาตัวประกอบ มีขั้นตอนดังนี้
1) หาว่าจำนวนนับที่กำหนดมาให้เป็นตัวประกอบของจำนวนใดบ้าง
2) หาตัวคูณร่วมของข้อ 1
3) นำตัวคูณร่วมที่มีค่าน้อยที่สุดในข้อ 2 เป็น ค.ร.น.
ตัวอย่าง จงหา ค.ร.น. ของ 12 , 18
12 เป็นตัวประกอบของ 12 , 24 , 36 , 48 , 60 , 72 , ...
18 เป็นตัวประกอบของ 18 , 36 , 54 , 72 , 90 , ...
ตัวคูณร่วมของ 12 และ 18 คือ 36 ,72 , ...
ดังนั้น ค.ร.น.. ของ 12 และ 18 คือ 36
วิธีที่ 2 วิธีแยกตัวประกอบ มีขั้นตอนดังนี้
1) แยกตัวประกอบของจำนวนนับที่กำหนดให้
2) พิจารณาผลในข้อ 1 ว่ามีจำนวนใดซ้ำกันทุกบรรทัดบ้าง ในกรณีที่ไม่มีจำนวนซ้ำกันทุกบรรทัด สามารถลดหลั่นลงได้
3) นำจำนวนที่ได้ในข้อ 2 คูณกัน
4) ผลคูณที่ได้จากข้อ 3 เป็น ค.ร.น.
ตัวอย่าง จงหา ห.ร.ม.ของ 12 , 18 12 = 2 x 2 x 3 18 = 2 x 3 x 3
ดังนั้น ห.ร.ม. ของ 12 และ 18 คือ 2 x 3 x 2 x 3 = 36 หรือ ห.ร.ม. ของ 12 และ 18 คือ 22 x 32
วิธีที่ 3 วิธีตั้งหาร มีขั้นตอนดังนี้
1) หารจำนวนนับที่กำหนดให้ด้วยตัวประกอบเเฉพาะของมัน
2) ในกรณีที่หารไม่ลงตัวทั้งหมด สามารถลดหลั่นได้ตามลำดับ
3) หารไปเรื่อย ๆ จนผลหารของทุกจำนวนมีค่าเท่ากับ 1
4) นำตัวหารทั้งหมดคูณกัน ผลคูณที่ได้คือ ค.ร.น.
ตัวอย่าง จงหา ห.ร.ม.ของ 12 , 18 2 ) 12 , 18 3 ) 6 , 9 2 )2 , 3 3 )1 , 3 1 , 1
ดังนั้น ห.ร.ม. ของ 12 และ 18 คือ 2 x 3 x 2 x 3 = 36 หรือ ห.ร.ม. ของ 12 และ 18 คือ 22 x 32

 


https://sites.google.com/site/mathematics6maii/tawprakxb-khxng-canwnnab/khunrwmnxy-kh-r-n

<< Go Back