<< Go Back 
          ในการจัดหมวดหมู่ไตรยางศ์ อักษรต่ำ หมายถึง พยัญชนะกลุ่มหนึ่งที่มีรูปปกติเป็นเสียงต่ำทั้งหมด ซึ่งเป็นการพิจารณาเฉพาะรูปพยัญชนะเท่านั้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผันเสียงวรรณยุกต์ไปในแบบเดียวกัน อักษรต่ำมีทั้งหมด 24 ตัว ได้แก่ ค, ฅ (เลิกใช้), ฆ, ง, ช, ซ, ฌ, ญ, ฑ, ฒ, ณ, ท, ธ, น, พ, ฟ, ภ, ม, ย, ร, ล, ว, ฬ, และ ฮ
ประเภท
          อักษรต่ำมี 2 ประเภทได้แก่ อักษรต่ำคู่ และ อักษรต่ำเดี่ยว
อักษรต่ำคู่
อักษรต่ำคู่ คืออักษรต่ำที่มีเสียงคู่กับอักษรสูง มีทั้งสิ้น 14 ตัว 7 คู่เสียงดังนี้

อักษรต่ำคู่ อักษรสูง
ค, ฅ, ฆ ข, ฃ
ช, ฌ,
ศ, ษ, ส
ฑ, ฒ, ท, ธ ถ, ฐ
พ, ภ

อักษรต่ำเดี่ยว

          อักษรต่ำเดี่ยว คืออักษรต่ำที่ไม่มีเสียงคู่กับอักษรสูง มีทั้งสิ้น 10 ตัวได้แก่ ง, ญ, ณ, น, ม, ย, ร, ล, ว, ฬ เมื่อต้องผันวรรณยุกต์ ต้องใช้ ห นำหน้า เพื่อให้ผันได้ครบทุกเสียง กลายเป็น หง, หญ, หณ, หน, หม, หย, หร, หล, หว, หฬ (ถึงแม้ว่า หณ และ หฬ สามารถใช้ผันได้ แต่ก็ไม่มีคำศัพท์ใดที่สะกดเช่นนั้น) อย เป็นกรณีพิเศษที่ อ นำ ย มีเพียง 4 คำ
วิธีท่องจำ
วิธีท่องจำคือการผูกคำที่ใช้อักษรเหล่านี้เป็นประโยค อาจมีหลายแบบเช่น
           - พ่อค้าฟันทองซื้อช้างฮ่อ (อักษรต่ำคู่)
           - งูใหญ่นอนอยู่ ณ ริมวัดโมฬีโลก (อักษรต่ำเดี่ยว)
           - เพชรฆาตเฒ่าใช้โซ่ใหญ่ฟาดธงรูปนกฮูกล้มครืนในงานภาณยักษ์ที่วัดโมฬีโลก (อักษรต่ำทั้งหมด)
การผันวรรณยุกต์
คำเป็น
           - คำเป็นที่ใช้อักษรต่ำเป็นพยัญชนะต้น จะมีพื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ เช่น คา เงา ชิง ทำ นอน เรา ฯลฯ
           - เมื่อผันด้วยไม้เอก จะมีเสียงโท เช่น ค่า แช่ง ท่อน เน่า ล่อง ฯลฯ
           - เมื่อผันด้วยไม้โท จะมีเสียงตรี เช่น ค้า ช้าง ซ้อม ทิ้ง น้ำ พ้อง ฯลฯ ตามหลักภาษา ไม่สามารถผันด้วยไม้ตรีและไม้จัตวา
คำตาย
คำตายสระเสียงยาว
           - คำตายที่ใช้อักษรต่ำเป็นพยัญชนะต้น และสะกดด้วยสระเสียงยาว จะมีพื้นเสียงเป็นเสียงโท เช่น โคก ชาติ ทอด ภาพ ลีบ ฯลฯ
           - เมื่อผันด้วยไม้โท จะมีเสียงตรี เช่น วี้ด ค้าบ ฯลฯ
           - เมื่อผันด้วยไม้จัตวา จะมีเสียงจัตวาเช่น ค๋าก ม๋าด ฯลฯ
           - ปัจจุบันไม่ปรากฏการเติมไม้จัตวากับคำตายสระเสียงยาวที่เป็นอักษรต่ำ ตามหลักภาษา ไม่สามารถผันด้วยไม้เอกและไม้ตรี
คำตายสระเสียงสั้น
           - คำตายที่ใช้อักษรต่ำเป็นพยัญชนะต้น และสะกดด้วยสระเสียงสั้น จะมีพื้นเสียงเป็นเสียงตรี เช่น คะ ชัก นก ทุบ เล็ก เพียะ ฯลฯ
           - เมื่อผันด้วยไม้เอก จะมีเสียงโท เช่น ค่ะ มั่ก ฯลฯ
           - บางคำอาจแปรเป็นเสียงเอกในการสนทนา เช่น ค่ะ→ขะ, น่ะ→หนะ, ย่ะ→หยะ, ล่ะ→หละ, ว่ะ→หวะ
           - เมื่อผันด้วยไม้จัตวา จะมีเสียงจัตวา เช่น ค๋ะ ม๋ะ ฯลฯ
           - ปัจจุบันไม่ปรากฏการเติมไม้จัตวากับคำตายสระเสียงสั้นที่เป็นอักษรต่ำ ตามหลักภาษา ไม่สามารถผันด้วยไม้โทและไม้ตรี

http://th.wikipedia.org/wiki/อักษรต่ำ

    << Go Back