<< Go Back

วรรณคดี

             วรรณคดี หมายถึง วรรณกรรมหรืองานเขียนที่ยกย่องกันว่าดีมีสาระและมีคุณค่าทางวรรณศิลป์การใช้คำว่าวรรณคดีเพื่อประเมินค่าของวรรณกรรมเกิดขึ้น ในพระราชกฤษฎีกา ตั้งวรรณคดีสโมสรในสมัยรัชกาลที่ ๖

             วรรณคดี เป็นวรรณกรรมที่ถูกยกย่องว่าเขียนดี มีคุณค่า สามารถทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์สะเทือนใจ มีความคิดเป็นแบบแผน ใช้ภาษาที่ไพเราะ เหมาะแก่การให้ประชาชนได้รับรู้ เพราะ สามารถ ยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น รู้ว่าอะไรควรหรือไม่ควร

             วรรณคดีแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท วรรณคดีมุขปาฐะ คือ วรรณคดี แบบที่เล่ากันมาปากต่อปาก ไม่ได้บันทึกไว้ เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น เพลงพื้นบ้าน นิทานชาวบ้าน บทร้องเล่น วรรณคดีราชสำนัก หรือ วรรรคดีลายลักษณ์ เช่น ไตรภูมิพระร่วง พระอภัยมณี อิเหนา ลิลิตตะเลงพ่าย

            การศึกษาวรรณคดีโดยวิเคราะห์ตามประเภท สามารถแบ่งได้เป็นประเภทต่างๆ ได้ดังต่อไปนี้

    • วรรณคดีคำสอน
    • วรรณคดีศาสนา
    • วรรณคดีนิทาน
    • วรรณคดีลิลิต
    • วรรณคดีนิราศ
    • วรรณคดีเสภา
    • วรรณคดีบทละคร
    • วรรณคดีเพลงยาว
    • วรรณคดีคำฉันท์
    • วรรณคดียอพระเกียรติ
    • วรรณคดีคำหลวง
    • วรรณคดีปลุกใจ

 

<< Go Back