กระเพาะปัสสาวะ (อังกฤษ: Urinary bladder) ใช้เก็บปัสสาวะของมนุษย์ สามารถเก็บได้มากถึง 500 มิลลิลิตร ถ้าเกิน 250 มิลลิลิตร จะรู้สึกปวดปัสสาวะ และจะถูกขับออกโดยไต ถ้าเก็บไว้นานจะเกิดโรคเช่นโรคนิ่ว จะเกิดขึ้นเพราะการตกตะกอนทำให้อุดตันท่อปัสสาวะ จนเกิดเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ต้องไปพบแพทย์
เป็นอวัยวะที่อยู่ในช่องอุ้งเชิงกรานด้านหลังกระดูกหัวหน่าว มีลักษณะเป็นถุงกลวงยืดหยุ่นได้ ผนังของกระเพาะปัสสาวะมีกล้ามเนื้อเรียบ 3 ชั้น ที่คอของกระเพาะจะมีกล้ามเนื้อหูรูดทวารเบามัดใน (internal sphincter muscle) ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อลายอยู่ด้วย กระเพาะปัสสาวะจะทำหน้าที่เป็นที่เก็บสะสมน้ำปัสสาวะ จนกระทั่งมีน้ำปัสสาวะเกิน 250 มิลลิลิตร ก็จะรู้สึกปวด อยากถ่ายปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะจะหดตัว ขับน้ำปัสสาวะออกมา เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม
การถ่ายปัสสาวะจะต้องประกอบไปด้วย
1. จำนวนปัสสาวะถ้าหากปัสสาวะเพิ่มมากขึ้นจนถึงจุดหนึ่ง ตั้งแต่ 150 – 400 ลบ.ซม. จะทำให้ผนังกระเพาะปัสสาวะตึงขึ้น
2. เกิดรีเฟลกซ์การถ่ายปัสสาวะเนื่องจากการตึงของผนังกระเพาะปัสสาวะมีผลทำให้เกิดกระแสประสาทส่งไปยังไขสันหลัง และสมองแล้วส่งกระแสประสาทกลับมากระตุ้นให้กล้ามเนื้อเรียบที่ผนังกระเพาะปัสสาวะบีบตัว
3. ยิ่งความดันกระเพาะปัสสาวะมาก ยิ่งทำให้เกิดการอยากถ่ายปัสสาวะมากขึ้น การเกิดรีเฟลกซ์ การถ่ายปัสสาวะจะมีผลในการกระตุ้นให้สมอง ส่งกระแสประสาทมายังกล้ามเนื้อ หูรูดมัดนอกของกระเพาะปัสสาวะให้คลายตัวและเกิดการถ่ายปัสสาวะขึ้น
ลักษณะกระเพาะปัสสาวะ
กระเพาะปัสสาวะมีลักษณะโดยทั่วไป คล้ายหัวเรือตัด ผนังประกอบไปด้วยเนื้อเยื่อชั้นๆเป็นดังนี้ ชั้นนอกสุดถูกคลุมด้วยเยื่อบุช่องท้อง ( peritoneum) ชั้นถัดมาเป็นชั้นของกล้ามเนื้อเรียบ ซึ่งมีการเรียงตัวเป็นสองขั้น ชั้นนอกเรียงตัวตามขวาง ชั้นในเรียงตัวตามยาว ชั้นถัดมาเป็นชั้นของเยื่อบุภายในมีการเรียงตัวของเซลล์หลายชั้นเป็นเซลล์ที่เรียกว่า " เยื่อบุผิวทรานซิชั่นนัล " ( transitional epithelium) ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงยืดหดได้ตามแต่ปริมาณของปัสสาวะ ภายในโพรงของกระเพาะปัสสาวะมีรูเปิดของท่อไต 2 ข้างสำหรับรับปัสสาวะมาจากไต ซึ่งอยู่ทางด้านหลังค่อนไปทางด้านบน นอกจากนี้ทางปลายล่างมีรูเปิดสำหรับเป็นทางออกของปัสสาวะ รอบๆรูเปิดนี้มีกล้ามเนื้อเรียบทำหน้าที่คล้ายหูรูดคอยปิดอยู่เสมอ และจะขยายตัวเมื่อมีการขับปัสสาวะออกเท่านั้นเมื่อมีปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะประมาณ 200-400 ซี.ซี. จะทำให้มีความดันเพียงพอที่จะทำให้รู้สึกปวดปัสสาวะ

กระเพาะปัสสาวะ
http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/renal/uti/cystitis.htm
หน้าที่กระเพาะปัสสาวะ
อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการขับถ่ายของเสียในรูปเหงื่อ คือ ผิวหนัง ซึ่งมีต่อมเหงื่ออยู่ใน ผิวหนังทำหน้าที่ขับเหงื่อการขับถ่ายของเสียทางลำไส้ใหญ่ การย่อยอาหารซึ่งจะสิ้นสุดลงบริเวณรอยต่อระหว่างลำไส้เล็กกับลำไส้ใหญ่ ลำไส้ใหญ่ ยาวประมาณ 5 ฟุต ภายในมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5 นิ้ว เนื่องจากอาหารที่ลำไส้เล็กย่อยแล้วจะเป็น ของเหลาวหน้าที่ของลำไส้ใหญ่ครึ่งแรกคือดูดซึมของเหลว น้ำ เกลือแร่และน้ำตาลกลูโคสที่ยังเหลืออยู่ใน กากอาหาร ส่วนลำไส้ใหญ่ครึ่งหลังจะเป็นที่พักกากอาหารซึ่งมีลักษณะกึ่งของแข็ง ลำไส้ใหญ่จะขับเมือก ออกมาหล่อลื่นเพื่อให้อุจจาระเคลื่อไปตามลำไส้ใหญ่ได้ง่ายขึ้น ถ้าลำไส้ใหญ่ดูดน้ำมากเกินไป เนื่องจาก การอาหารตกค้างอยู่ในลำไส้ใหญ่หลายวัน จะทำให้กากอาหารแข็ง เกิดความลำบากในการขับถ่าย ซึ่ง เรียกว่า ท้องผูก โดยปกติ กากอาหารผ่านเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ประมาณวันละ 300-500 ลูกบาศก์เซนติเมตร ซึ่ง จะทำให้เกิดอุจจาระประมาณวันละ 150 กรัม
ขอบคุณที่มาของเนื้อหาเพิ่มเติม
http://www.doctor.or.th/article/detail/6107
http://www.howwto.com/กระเพาะปัสสาวะ-ทำหน้าที่/
http://th.wikipedia.org/wiki/กระเพาะปัสสาวะ
|